“โซเดียม” เป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ
โดยมักจะอยู่ในอาหาร เช่น
- เกลือ เกลือแกง
- กะปิ
- อาหารหมักดอง
- ซอสหรือเครื่องปรุงต่าง ๆ (น้ำปลา ซีอิ้ว ผงปรุงรส)
- อาหารแปรรูปหรือ เนื้อสัตว์ปรุงรส (อาหารกระป๋อง หมูหยอง ไส้กรอก แหนม)
- อาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
- น้ำจิ้ม หรือ น้ำพริก (ที่รสจัดหรือมีหลายรส)
โดยปกติโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกาย หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ ”ใต้ผิวหนัง” มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้และหากบริโภคเกินความต้องการของร่างกาย เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เป็นโรคไต ความความดันฯ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ได้เช่นกัน
- สำหรับผู้ใหญ่ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำ คือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- สำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี ปริมาณโซเดียมควรลดสัดส่วนตามความต้องการพลังงานที่ลดลง
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก www.tropmedhospital.com